Loading...


การรักษาด้วยวีทกราส


-





PDF ดูรายละเอียด.pdf


ตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา ดร.คริส เรโนลด์ แพทย์ชาวออสเตรเลียผู้นับถือนิกายออร์โทดอกซ์ ได้ทราบถึงผลการรักษามากมายของสารสกัดเข้มข้นที่ได้จากต้นอ่อนของข้าวสาลีซึ่งสารสกัดนี้เป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์ทุกตัวของ Dr.Wheatgrass/Wheatfix เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าวีทกราส (wheatgrass) ช่วยเพิ่มความสามารถของการฟื้นฟูร่างกายตามธรรมชาติ การสมานแผล แผลไฟไหม้ กระดูกหัก การบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน การฟื้นฟูของผิวหนังหลังเกิดผื่นแพ้อักเสบ สะเก็ดเงิน หูดข้าวสุก แผลที่ขอบทวารหนัก ซึ่งบางครั้งผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยวีทกราสมากกว่ายาที่ใช้เป็นมาตรฐานในการรักษาโรคเหล่านี้และยิ่งไปกว่านั้นคือไม่มีผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวีทกราส การรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเกตผลทางคลินิกอย่างรอบด้าน การศึกษาการจับกับลิแกนด์ การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าวีทกราสมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (อาจเป็นลิแกนด์)มากมายที่ซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังอย่างรวดเร็วแล้วจับกับตัวรับของเซลล์ซึ่งส่งผลต่อการแสดงออกของยีน ผลเหล่านี้เป็นการตอบสนองทางสรีรวิทยา เช่น การบรรเทาอาการปวด (การยับยั้ง substance P) การฟื้นฟูและการซ่อมแซมของแผล การผลิตส่วนประกอบของเลือด (ด้วยการกระตุ้น growth factor) และเนื่องด้วยสารสกัดนี้สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยจึงทำให้มีฤทธิ์ปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน (ความปรับสมดุลของฮอร์โมน/ทำให้ระบบฮอร์โมนเป็นปกติ)

กดเลือกที่หน้า  Conditions (โรค/ภาวะที่วีทกราสรักษาได้เพื่อดูผลการรักษามากมายของสารสกัดวีทกราสและเข้าดูข้อมูลที่หน้า  Testimonials (รีวิวจากการทดลองใช้) เพื่อเป็นการยืนยันความสามารถในการรักษาของวีทกราส

และคลิกที่ This link เพื่อเข้าดูบทความของดร.คริสเกี่ยวกับผลการรักษาของวีทกราส


 

Wheatgrass - Effective Inducer Of Fetal Hemoglobin

วีทกราส ตัวเหนี่ยวนำที่มีประสิทธิภาพต่อฟีตัล ฮีโมโกลบิน

ฉันอยากนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับสารที่สามารถรักษาบีต้า-ทาลัสซีเมีย (ทาลัสซีเมีย เมเจอร์, คูลลี่ แอนนิเมีย,เมดิเตอร์เรเนียน แอนนิเมีย) โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวนั่นคือวีทกราส ซึ่งฉันใช้มันรักษาทางคลินิกอยู่บ่อยครั้ง วีทกราสทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น รวมถึงรักษาความผิดปกติที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การค้นพบนี้มีหลักฐานทางคลินิกรวมถึงวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาสนับสนุน

ทาลัสซีเมีย เมเจอร์เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมของฮีโมโกลบินซึ่งคือโปรตีนในเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย มียีนเพียง 1 ยีนที่ตัดสินว่าเด็กที่เกิดมาจะผิดปกติหรือเป็นพาหะซึ่งมียีนที่ผิดปกติอยู่ ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นส่วนใหญ่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เช่น ประเทศไทยพบ 600,000 เคส) อินเดีย เมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกากลาง ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมาณจากภาวะตับม้ามโต หัวใจวาย เติบโตช้า ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อและอาการอื่นๆ อีกมากมาย การรักษาผู้ป่วยทาลัสซีเมียในปัจจุบันมักใช้วิธีการถ่ายเลือดอย่างสม่ำเสมอ การใช้สารจับหรือขจัดธาตุเหล็กออกจากร่างกายและยาที่เหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างฟีตัล ฮีโมโกลบิน เช่น ไฮดรอกซียูเรีย ซึ่งโรคนี้หากไม่ได้รับการรักษาและการจัดการที่ดี ผู้ป่วยอาจถึงแก่ความตายได้ ตั้งแต่ปี 1930 มีการรายงานว่าวีทกราสและซีเรลกราสมีประสิทธิภาพในทางคลินิก

ในตอนแรกมีการรายงานว่าคลอโรฟิลล์และอนุพันธ์สังเคราะห์ของมันชื่อคลอโรฟิลลินเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีฤทธิ์สมานแผล การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่าสัตว์ที่กินคลอโรฟิลลินอาการของโรคโลหิตจางดีขึ้น (1,2,3) การศึกษาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นผลที่ดีของการรักษาแผลที่เป็นหนอง (4)แผลไหม้จากความร้อน (5) มะเร็งตับ (6) ลำไส้ใหญ่อักเสบ (7) และอีกหลายภาวะ สำหรับประสบการณ์ของฉันที่ใช้วีทกราสรักษาผู้ป่วยมาตั้งแต่ปี 1995 รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยต่างๆทำให้ฉันมั่นใจว่าฤทธิ์การรักษาเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากคลอโรฟิลล์หรือคลอโรฟิลลิน

ในไฮเปอร์ลิงค์ของฉันด้านล่างนี้

In my  HYPERLINK "http://www.drwheatgrass.com/info/newsletters/letter_feb04" February, 2004 newsletter,

 

ฉันได้กล่าวถึงการศึกษาทางคลินิกแบบนำร่องของดร. อาร์ เค มาร์วาฮาและคณะที่  Advanced Pediatric Centre, Postgraduate Institute of Medical Education and Research, Chandigarh, อินเดีย

หัวข้องานวิจัยคือน้ำคั้นวีทกราสช่วยลดความต้องการถ่ายเลือดของผู้ป่วยทาลัสซีเมีย เมเจอร์การศึกษาแบบนำร่อง 

"Wheat grass juice reduces transfusion requirement in patients with thalassemia major: a pilot study."

 

 

ศึกษาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2000 ถึง พฤษภาคม 2003 มีผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ป่วยทาลัสซีเมียที่ต้องได้รับการถ่ายเลือด 16 คน จาก 38 คนหรือ (42%)เข้าร่วมการศึกษาจนถึงการวิเคราะห์ผลในช่วงสุดท้าย

สรุปผลจากการรับประทานน้ำคั้นวีทกราส

?       ผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกคนมีความต้องการถ่ายเลือดที่ลดลง (จาก 0.4 ถึง 43%)

?       50มีความต้องการถ่ายเลือดที่ลดลงอย่างน้อย 25%

?       ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ไม่ต้องรับการถ่ายเลือดเพิ่มขึ้น 29.5%

?       ระดับของฮีโมโกลบินไม่ได้ลดลงตามปริมาณการได้รับการถ่ายเลือดที่ลดลง

ดร. อาร์ เค มาร์วาฮาสรุปว่าน้ำคั้นจากวีทกราสช่วยลดความต้องการถ่ายเลือดของผู้ป่วยทาลัสซีเมียได้ แต่เขาไม่ได้ศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของวีทกราสในผู้ป่วยทาลัสซีเมียที่ต้องได้รับการถ่ายเลือด แค่เสนอแนวความคิดว่าคลอโรฟิลล์น่าจะเพิ่มการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งฉันก็สนับสนุนว่าคลอโรฟิลล์มีหน้าที่มากกว่าการสังเคราะห์แสง อย่างไรก็ตามฉันมองว่ามันง่ายเกินไปที่จะสรุปผลเช่นนั้น ดูรายละเอียดที่

 (See my newsletter INK "http://www.drwheatgrass.com/info/newsletters/letter_mar04" "Chlorophyll - Healer or Humbug").

 

ที่ฉันคิดเช่นนั้นเนื่องจากสารสกัดวีทกราสที่ให้ผลการรักษาทางคลินิกของฉันแทบจะไม่มีคลอโรฟิลล์เป็นส่วนประกอบเลย และเป็นที่น่าสนใจว่าผู้ป่วยอีก 20 คนถูกคัดออกจากการวิจัยเนื่องจากเหตุผลว่าไม่มีวินัยในการทานและระยะเวลาของการทานวีทกราสไม่ยาวนานพอ ซึ่งฉันไม่แปลกใจเลยว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ก็เพราะพวกเขาต้องทานมันวันละมากกว่า 100 มล.ซึ่งรสชาติมันก็ไม่อร่อย ผู้ป่วยบางคนอายุเพียง 4 ขวบจึงชอบอาหารที่อร่อย มันจึงยากที่จะทานตามปริมาณที่กำหนดไว้นี้ ฉันติดต่อดร.มาร์วาฮาและแนะนำเวบไซต์สารสกัดจากวีทกราสแต่เวลานั้นเขาไม่สนใจที่จะทำการวิจัยต่อ อย่างไรก็ตามฉันได้ใช้วีทกราสรักษาโรคตามประสบการณ์ของฉันและตอนนี้ได้มีงานวิจัยมากมายในหัวข้อนี้ ฉันค่อนข้างแน่ใจว่าสารสกัดวีทกราสน่าจะออกฤทธิ์ได้ดีเช่นเดียวกับน้ำคั้นสด สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือสารสกัดมีรสชาติที่อร่อยกว่าและปริมาณที่ต้องทานเพียง 1-3 มล.ต่อวัน

ที่ The Murdoch Children's Research Institute ที่ Royal Children's Hospital ที่เมลเบิร์น (ออสเตรเลีย) ซึ่งวิจัยมากมายเกี่ยวกับทาลัสซีเมีย ในกลุ่มการวิจัยของหน่วยรักษาด้วยเซลล์และยีน ที่มี Professor Panos Ioannou เป็นหัวหน้า และเขาได้สร้างโครโมโซมเทียมจากโครงการการศึกษาจีโนมในมนุษย์ ในวันที่ 3 พฤษภาคมเขาขอตัวอย่างสารสกัดวีทกราสเพื่อนำไปศึกษาโดยบอกว่าเขากำลังพัฒนาการวิเคราะห์ที่จำเพาะต่อการเหนี่ยวนำของฟีตัล ฮีโมโกลบิน โดยการตรวจสอบการสร้างฟีตัล ฮีโมโกลบินในเซลล์อีริโทรลิวคีเมีย และใช้ฟลูออเรสเซนต์โปรตีนยีนแทนที่ยีนของฟีตัล ฮีโมโกลบินเพื่อค้นหาสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการรักษาโรคทาลัสซีเมีย

ฟีตัล ฮีโมโกลบินมีความสามารถในการจับกับออกซิเจนสูงกว่าฮีโมโกลบินจากผู้ใหญ่เกิดขึ้นในฟีตัส 6 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เนื่องจากแม่และทารกในครรภ์ใช้ระบบเลือดร่วมกัน ฟีตัล ฮีโมโกลบินจึงดึงออกซิเจนจากเลือดของแม่ ทำให้ฟีตัสสามารถมีชีวิตอยู่ในมดลูกได้ หลังคลอดฟีตัล ฮีโมโกลบินจะลดระดับลงอย่างรวดเร็วและเหลือน้อยกว่า 2 %ในฮีโมโกลบินทั้งหมดในผู้ใหญ่ พบว่าการกระตุ้นหรือเหนี่ยวนำการสร้างฟีตัล ฮีโมโกลบินจะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น แม้ว่าจะมียาที่ใช้ได้เช่น ไฮดรอกซียูเรีย แต่มันไม่มีความจำเพาะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงมากมาย Professor Ioannou ได้ทำการทดสอบสารสกัดวีทกราสในการเหนี่ยวนำการสร้างฟีตัล ฮีโมโกลบินในเซลล์ของมนุษย์ 3 ชนิด ในวันที่ 14 กรกฏาคม เขารายงานผลการศึกษาวันที่ 5 ของเขาซึ่งพบว่าสารสกัดวีทกราสทำให้ฟีตัล ฮีโมโกลบินเพิ่มมากขึ้น 3-5 เท่า มีนัยสำคัญเพียงพอที่จะอธิบายได้ว่าทำไมผู้ป่วยทาลัสซีเมียจึงมีผลการรักษาที่ดีหลังจากได้รับวีทกราส การศึกษาทั้งสองจึงเป็นเครื่องยืนยันว่าวีทกราสน่าจะเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างฟีตัล ฮีโมโกลบิน

โดยสรุปฉันเชื่อว่า 2 การศึกษาที่คาดว่าวีทกราสเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างฟีตัล ฮีโมโกลบินนี้เป็นความหวังของผู้ป่วยทาลัสซีเมีย ผลิตภัณฑ์จากวีทกราสที่วางขายในท้องตลาด อาทิ น้ำคั้นสด แบบเม็ด แบบผงและอาหารเสริมมีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย ไม่มีผลข้างเคียง อย่างไรก็ตามยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปริมาณของสารสกัดวีทกราสที่ควรได้รับต่อวันเพื่อให้เกิดผลดีที่สุดแก่ผู้ป่วยทาลัสซีเมีย และสำหรับผู้ที่ทานวีทกราสควรอมอยู่ในปากอย่างน้อย 1 นาทีก่อนกลืน

เอกสารอ้างอิง:

1.    Kirkman, N.F. 1939. The effect of low-porphyrin diet on erythropoiesis and hemoglobin regeneration. J Physiol 95:508-515

2.    Kelentei, B., Fekete, I., Kun, F. 1958. Influence of copper chlorophyllin on experimental anemia. Acta Pharm Hung 28:176-180

3.    Borisenko, A.N., Sofonova, A.D. 1965. Hemopoietic effect of Na chlorophyllin. Vrach Delo 9:44-46

4.    Gruskin, B. Chlorophyll ? its therapeutic place in acute and suppurative disease. 1940. American Journal of Surgery.

5.    Collings, G. 1945. Chlorophyll and adrenal cortical extract in the local treatment of burns. American Journal of Surgery 70:58- 63.

6.    Egner, P.A., Munoz, A., Kensler, T.W. 2003. Chemoprevention with chlorophyllin in individuals exposed to dietary aflatoxin. Mutat Res. 2003 Feb-Mar;523-524:209-16.

7.    Ben-Ayre, E., Goldin, E., Wengrower, D., Stamper, A., Kohn, R., Berry , E. 2002. Wheat grass juice in the treatment of active distal ulcerative colitis: a randomized double-blind placebo-controlled trial. Scand J Gastroenterol 2002;37:444-449 



แปลจาก www.drwheatgrass.com.au